ความเป็นมาโครงการ

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู
ช่วงแคราย-มีนบุรี

เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยกำหนดให้เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) สายแรกของประเทศไทย

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู

มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 รวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 30 สถานี โดยมีจุดเชื่อมต่อโครงข่ายที่สามารถเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างโครงการได้ 4 จุด

การออกแบบโครงสร้าง

มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 รวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 30 สถานี โดยมีจุดเชื่อมต่อโครงข่ายที่สามารถเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างโครงการได้ 4 จุด

ระบบรถไฟฟ้า Monorail และการให้บริการ   ระบบรถไฟฟ้า Monorail โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ให้บริการในระบบรถไฟฟ้า Monorail เป็นระบบรางเดียว วิ่งด้วย ความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง วิ่งบนรางความชันสูงสุดไม่เกิน 6% รัศมีเลี้ยวโค้ง 70 เมตร รองรับผู้โดยสารสูงสุดได้ประมาณ 28,000 คน/ทิศทาง อาศัยการเคลื่อนที่ของล้อยางคร่อมบนคานเดี่ยว ตัวรถมีขนาดกว้างกว่าตัวคาน   ข้อมูลทางเทคนิคของระบบ มีระบบ 2 เพลาและระบบ 4 เพลา ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า 750V dc และ 1,500V dc จากรางไฟฟ้าทั้งสองข้าง จ่ายกระแสไฟฟ้าจากรางจ่ายไฟ (Power Rails)   โครงสร้างทางวิ่ง โครงสร้างของระบบรถไฟฟ้า Monorail เป็นคานคอนกรีตรูปตัวไอ วางบนตอม่อ มีระยะห่างช่วงเสาประมาณ 20-30 เมตร โดยระยะห่างระหว่างศูนย์กลางทางวิ่งในทางตรงควรมีระยะ 3.70 เมตร ในขณะที่บริเวณทางโค้ง...

เกี่ยวกับเรา

มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 รวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 30 สถานี โดยมีจุดเชื่อมต่อโครงข่ายที่สามารถเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างโครงการได้ 4 จุด

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) ครั้งแรกของประเทศไทย   กลุ่ม PCPK ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท เอทีที คอนซัลแต้นท์ จำกัด บริษัท เอสคิว อาร์คีเต็ด แอนด์ แปลนเนอร์ จำกัด บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด บริษัท ซี คอนซัลท์ เอนจิเนียริ่ง...

กฎหมายและข้อกำหนด

คุณภาพน้ำผิวดิน

  • จัดให้มีตาข่ายหรือผ้าใบขึงปกคลุมบริเวณใต้โครงสร้างทางยกระดับและสถานีรถไฟฟ้าเพื่อรองรับวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่อาจตกสู่แหล่งน้ำผิวดิน
  • การเปิดหน้าดินและการขุดปรับถมพื้นที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน
  • ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป ซึ่งสามารถบำบัดน้ำเสียได้ 10.0 ลูกบาศก์เมตร/วัน

คุณภาพอากาศ

  • ติดตั้งสัญญาณไฟทุกๆ ระยะห่าง 30 เมตร ให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มงานก่อสร้างและให้รื้อหรือเคลื่อนย้ายออกทันทีหากการก่อสร้างในแต่ละพื้นที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ
  • จัดให้มีตาข่ายละเอียดหรือผ้าใบปกคลุมไว้ใต้โครงสร้างทางยกระดับสถานีรถไฟเพื่อป้องกันฝุ่น
  • ใช้รถดูดฝุ่นบนผิวโครงข่ายถนนเดิม
  • เคลื่อนย้ายเศษวัสดุก่อสร้างหรือกองดินออกจากพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมง
  • ดำเนินการจัดเก็บและทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้างทุกวัน

เสียง

  • เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลที่ใช้ต้องไม่ก่อให้เกิดเสียงดังและใช้อุปกรณ์ลดหรือควบคุมระดับสียงจากเครื่องจักรกล รวมถึงตรวจสอบให้มีสภาพดีตลอดโครงการ
  • ติดตั้ง Sheet Pile บริเวณพื้นที่ก่อสร้างบนโครงข่ายถนนเดิม
  • รถบรรทุกวัสดุก่อสร้างต้องวิ่งผ่านแหล่งชุมชนและพื้นที่อ่อนไหวความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • ใช้พื้นรองแบบยางแทนแผ่นเหล็กทำเป็นถนนชั่วคราว เพื่อลดความดังของเสียง

การสั่นสะเทือน

  • กำหนดให้ดำเนินกิจกรรมก่อสร้างที่จะก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนได้ในช่วงเวลา
    8:00 – 18:00 น.
  • หากมีการก่อสร้างที่จะก่อเกิดการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานขุดเจาะเพื่อก่อสร้างฐานราก จำเป็นต้องปรับลดพลังงานในการขุดเจาะเสาเข็มในแต่ละครั้ง
  • รถบรรทุกวัสดุก่อสร้างต้องใช้ความเร็วในการขับขี่ไม่เกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ทรัพยากรป่าไม้

  • กำหนดให้เคลื่อนย้ายต้นไม้ออกจากพื้นที่ก่อสร้างออกจากพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด โดยใช้วิธีล้อมและขุดออก พร้อมทั้งนำไปจัดการอย่างเหมาะสม โดยไม่มีการกำจัดต้นไม้
  • กำหนดให้เพิ่มเติมพื้นที่สีเขียวหรือสวนขนาดเล็กในพื้นที่ใต้สถานีรถไฟฟ้า

Scroll Up