โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้ทำการสำรวจสภาพแวดล้อมปัจจุบันบริเวณพื้นที่โครงการและประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะดำเนินการ จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังนี้
ด้านคุณภาพน้ำผิวดิน
- จัดให้มีตาข่ายหรือผ้าใบขึงปกคลุมบริเวณใต้โครงสร้างทางยกระดับและสถานีรถไฟฟ้าเพื่อรองรับวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่อาจตกสู่แหล่งน้ำผิวดิน
- การเปิดหน้าดินและการขุดปรับถมพื้นที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน
- ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป ซึ่งสามารถบำบัดน้ำเสียได้ 10.0 ลูกบาศก์เมตร/วัน
ด้านคุณภาพอากาศ
- ติดตั้งสัญญาณไฟทุกๆ ระยะห่าง 30 เมตร ให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มงานก่อสร้างและให้รื้อหรือเคลื่อนย้ายออกทันทีหากการก่อสร้างในแต่ละพื้นที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ
- จัดให้มีตาข่ายละเอียดหรือผ้าใบปกคลุมไว้ใต้โครงสร้างทางยกระดับสถานีรถไฟเพื่อป้องกันฝุ่น
- ใช้รถดูดฝุ่นบนผิวโครงข่ายถนนเดิม
- เคลื่อนย้ายเศษวัสดุก่อสร้างหรือกองดินออกจากพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมง
- ดำเนินการจัดเก็บและทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้างทุกวัน
ด้านเสียง
- เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรกลที่ใช้ต้องไม่ก่อให้เกิดเสียงดังและใช้อุปกรณ์ลดหรือควบคุมระดับสียงจากเครื่องจักรกล รวมถึงตรวจสอบให้มีสภาพดีตลอดโครงการ
- ติดตั้ง Sheet Pile บริเวณพื้นที่ก่อสร้างบนโครงข่ายถนนเดิม
- รถบรรทุกวัสดุก่อสร้างต้องวิ่งผ่านแหล่งชุมชนและพื้นที่อ่อนไหวความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- ใช้พื้นรองแบบยางแทนแผ่นเหล็กทำเป็นถนนชั่วคราว เพื่อลดความดังของเสียง
ด้านการสั่นสะเทือน
- กำหนดให้ดำเนินกิจกรรมก่อสร้างที่จะก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนได้ในช่วงเวลา
8:00 – 18:00 น. - หากมีการก่อสร้างที่จะก่อเกิดการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานขุดเจาะเพื่อก่อสร้างฐานราก จำเป็นต้องปรับลดพลังงานในการขุดเจาะเสาเข็มในแต่ละครั้ง
- รถบรรทุกวัสดุก่อสร้างต้องใช้ความเร็วในการขับขี่ไม่เกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ด้านทรัพยากรป่าไม้
- กำหนดให้เคลื่อนย้ายต้นไม้ออกจากพื้นที่ก่อสร้างออกจากพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด โดยใช้วิธีล้อมและขุดออก พร้อมทั้งนำไปจัดการอย่างเหมาะสม โดยไม่มีการกำจัดต้นไม้
- กำหนดให้เพิ่มเติมพื้นที่สีเขียวหรือสวนขนาดเล็กในพื้นที่ใต้สถานีรถไฟฟ้า