โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยกำหนดให้เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) สายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างเป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง รวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร จำนวน 30 สถานี ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะผ่านที่พักอาศัย สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และศูนย์การค้าหลายแห่ง
คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินงานรถไฟฟ้าสายสีชมพูในรูปแบบ PPP Net Cost กล่าวคือภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา ค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งบริหารเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ วงเงินลงทุน 53,490.00ล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรวมเป็นเวลา 33 ปี 3 เดือน (ระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาเดินรถ 30 ปี)
ในอนาคตเมื่อสร้างแล้วเสร็จโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะช่วยรองรับการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วยบรรเทาปัญหาด้านการจราจรและลดปัญหาด้านมลพิษในเขตเมือง ช่วยกระจายความเจริญจากในเมืองไปสู่ชานเมือง อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ ให้ต่อเนื่องกันเป็นระบบและครบวงจร
* กลยุทธ์ PPP (Public-Private Partnership) คือ การร่วมกันพัฒนาและให้บริการโครงการสาธารณะของภาครัฐและเอกชน โดยทั้สองฝ่ายจะมีการจัดสรรผลประโยชน์และบริหารความเสี่ยงร่วมกัน ซึ่งเอกชนอาจจะเป็นผู้ให้บริการ บริหารระบบ หรือก่อสร้างงานโยธา มี 2 รูปแบบ 1. Net Cost คือเอกชนได้รับสิทธิ์ในการจัดเก็บรายได้และจัดสรรผลตอบแทนบางส่วนให้แก่ภาครัฐตามข้อตกลง ซึ่งเอกชนจะต้องรับความเสี่ยงจากการดำเนินงานทั้งหมด 2. Gross Cost คือ ภาครัฐจัดเก็บรายได้ทั้งหมดและชดเชยค่าตอบแทนให้บริษัทเอกชนตามค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน
ประโยชน์ของ PPP
|